Tag Archives: ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมในการจำนอง

ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ค่าธรรมเนียมในการจดจำนอง ที่ต้องจ่ายเวลาที่เรานำหลักทรัพย์ไปทำสัญญาจำนอง ซึ่งเรียกเก็บโดยกรมที่ดิน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมคำขอ คิดแปลงละ 5 บาท ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน คิด 1% ของวงเงินจำนอง แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ คิดตามวงเงินจำนอง โดยทุกๆ 2,000 บาทจะต้องเสียค่าอากรแสมป์ 1 บาท(เศษของ 2,000 ก็คิดเป็น 1 บาท) แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท ตัวอย่าง  นำบ้านมาจดจำนองกับนายทุน บ้านมีราคาประเมิณที่ 2 ล้านบาท นำมาจดจำนองที่วงเงิน 1 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียให้กรมที่ดินคือ ค่าธรรมเนียมคำขอ  = 5 บาท ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน  1% ของวงเงินจำนอง ในที่นี้คือ 1% ของ 1ล้านบาท = 10,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ คิดตามวงเงินจำนอง 1ล้านบาท หารด้วย 2,000 = 500 บาท… Read More »

ค่าปากถุง คือ อะไร (จำนอง, ขายฝาก)

ค่าปากถุง คือ อะไร ในวงการ จำนอง ขายฝาก มักจะมีค่าธรรมเนียมตัวนึงที่นายทุนเรียกเก็บจากผู้จำนอง หรือผู้ขายฝากนั่นก็คือ “ค่าปากถุง” ซึ่ง ค่าปากถุง นี้หากแปลเป็นทางการหน่อยก็คือ ค่าธรรมเนียมการกู้เงิน  ที่นายทุนเรียกเก็บเพื่อเป็นค่าบริการ  รวมถึงเป็นค่าใช้ในการดำเนินงาน เช่น ค่านายหน้า, ค่าเดินทาง. ค่าน้ำมัน, ค่าประกันความเสี่ยงของเจ้าหนี้ เป็นต้น และไม่ใช่แค่นายทุนทั่วไปเท่านั้นนะครับที่เก็บค่าปากถุง ซึ่งเวลาเรากู้เงินกับสถาบันการเงิน ก็จะมีค่าปากถุงนี้เหมือนกัน แต่จะไม่เรียกว่าค่าปากถุง แต่จะแอบแฝงมาเป็นค่าบริการอื่นๆ แล้วแต่จะเรียก ซึ่งเรทบางทีอาจจะสูง หรือต่ำกว่าทำกับนายทุนทั่วไปก็ได้ครับ ค่าปากถุงเก็บตอนไหน ? ธรรมเนียมปฏิบัติในการเก็บค่านี้เหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็น เจ้าหนี้, นายทุน หรือสถาบันการเงิน ก็จะทำการหักค่าปากถุงไปจากยอดเงินที่กู้ และผู้กู้เงินถึงจะนำส่วนที่เหลือไปใช้สอยได้ ค่าปากถุงคิดยังไง ? เงินปากถุงนั้นจริงๆแล้วจะเรียกเก็บ หรือไม่เรียกเก็บก็ได้ ไม่ตายตัว ทั้งนายทุนทั่วไป และสถาบันการเงินจะประเมิณมูลค่าของค่าปากถุงจากความเสี่ยงในการปล่อยกู้ ความคล่องตัวของสินทรัพย์ และกำลังจ่ายของลูกหนี้ โดยทาง บ้านเฮงๆ.com จะคิดเรทอยู่ที่ประมาณ 0-6% ด้วยกัน ซึ่งบางสถาบันการเงินมีการเรียกเก็บมากกว่านี้ถึง 5-10% เลยทีเดียว สรุป จากประสบการณ์ในวงการนี้นะครับ เงินค่าปากถุงนั้น มีทั้งเก็บ และไม่เก็บ แต่ส่วนมากแล้วจะมีเก็บนะครับ… Read More »

ภาษีธุรกิจเฉพาะ คืออะไร ?

ภาษีธุรกิจเฉพาะ คืออะไร แล้วใครบ้างต้องเสีย ? ถ้าพูดถึง ภาษีธุรกิจเฉพาะ หลายๆคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักนะครับ ว่ามันคืออะไร คร่าวๆก็คือเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเวลาโอนบ้าน ซึ่งเจ้าภาษีตัวนี้ก็เป็นอะไรที่ชวนงงเหมือนกันครับ เพราะเสียบ้างไม่เสียบ้างแล้วแต่เคส และราคาก็ไม่ใช่น้อยๆ ต้องเสียมากถึง 3.3% ของราคาซื้อขาย หรือราประเมิณ(ขึ้นกับว่าอะไรแพงกว่ากัน) เนื้อหาต่อจากนี้เราจะมาดูกันว่า เมื่อไหร่ที่จะต้องจ่ายเจ้าภาษีตัวนี้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ คืออะไร ภาษีตัวนี้คือภาษีที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจากธุกิจเฉพาะ ได้แก่ การธนาคาร, ธุรกิจเงินทุน, ธุรกิจหลักทรัพย์, ประกันชีวิต, การจำนำ และรวมถึง การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ซึ่งข้อสุดท้ายที่ผมทำตัวหนาไว้นี่แหละ เป็นตัวรัฐสามารถจะมาเก็บเราในกรณีที่รัฐเห็นว่าเรานั้นทำการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อแสวงหากำไร ไม่ใช่เพื่ออยู่อาศัย เงื่อนไขที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งเงื่อนไขสั้นๆง่ายๆคือ ต้องถือครองอย่างน้อย 5 ปี แล้วค่อยนำไปขาย ถึงจะได้รับการยกเว้น ภาษีธุรกิจเฉพาะ ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ที่ขายก่อน 5 ปีได้ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1ปี นับตั้งแต่วันที๋โอนกรรมสิทธิ์ การขายโดยการถูกเวนคืนตามกฏหมาย การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมรดกมา การโอนที่ดินให้บุตรตามกฏหมาย(ไม่นับบุตรบุญธรรม) หรือทายาทตามพินัยกรรม การโอนที่ดินให้ส่วนราชการ หรือรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน การคิดค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขาย หรือราประเมิณ(ขึ้นกับว่าอะไรแพงกว่ากัน) เช่น ซื้อ-ขายบ้านกันในราคา 1 ล้านบาท ราคาประเมิณอยู่ที่ 8 แสนบาท เพราะฉะนั้น… Read More »